วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

รูปแบบการส่งข้อมูลแบบอนุกรม

                ข้อมูลแบบอนุกรมจะถูกส่งออกโดยรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง คือ แบบซิงโคนัสหรืออะซิงโคนัส ข้อมูลซิงโคนัสต้องการสัญญาณนาฬิกาที่สัมพันธ์กันระหว่างเครื่องส่งและเครื่องรับซึ่งเรียกว่า "สัญญาณนาฬิกาข้อมูล"(Data Clock) เพื่อที่จะทำให้การแปลข้อมูลที่ส่งและรับสอดคล้องกัน เครื่องรับจะจับสัญญาณนาฬิกาข้อมูลซึึ่งอยู่ในกระแสข้อมูลแบบอนุกรมนี้ได็โดยวงจรพเศษที่เรียกว่า "วงจรสัญญาณนาฬิกา" (Clock Recovery Circuits) เมื่อเครื่องรับจับสัญาณนาฬิกาได้จึงจะทำให้ความสอดคล้องกันของบิตและอักขระเกิดขึ้น การสอดคล้องของบิต (Bit Synchronization) ได้แก่เกี่ยวกับการทำให้เกิดอักขระ เริ่มต้นและสิ้นสุดเพื่อให้สามารถถอกรหัสและให้ความหมายของอักขระเหล่านี้ได้ การทำให้สอดคล้องกันทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่ักับสัญญาณนาฬิกาที่จับได้จากกระแสข้อมูลข่าวสาร
                    การสื่อสารกระแสข้อมูลแบบอนุกรม สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ
                1. การสื่อสารข้อมูลแบบอะซิงโคนัส ( Asynchronous Transmission หรือเรียกว่า Start Stop Transmission) เป็นการดำเนินการโดยอาศัยบิตปิดหัวท้านหรือ "บิตเฟรม" (Framing Bits) พิเศษเพื่อทำให้เกิดการเริ่มต้นและการสิ้นสุดของการเกิดคำอักขระข้อมูล สัญญาณนาฬิกาจะไม่ถูกจับจากกระแสข้อมูลถึงแม้ว่าสัญญาณนาฬิกาภายในของเครื่องส่งและเครื่องรับจะต้องมีความถี่เดียวกันจึงจะทำให้สามารถรับข้อมูลได้อย่างถูกต้อง เครื่องรับจะสนองตอบต่อกระแสข้อมูลก็ต่อเมื่อมันได้พบตัวบิตเริ่มต้น (Start Bit) อักขระข้อมูลจะถูกถอดรหัสให้ความหมายหลังจากได้รัยบิตหยุด (Stop Bit) และมีการยืนยันอีกครั้งเท่านั้น ข้อมูลอะซิงโคนัสสามารถถูกจับได้และทำให้สอดคล้องกับบิต และสอดคล้องกับอักขระได้ง่ายกว่า แต่ประสิทธิภาพการส่งข้อมูลจะลดลง เนื่องจากต้องมีการส่งบิตเฟมซึ่งไม่ใช้เป็นข้อมูลข้อความเพิ่มขึ้น แม้ว่าสัญญาณนาฬิกาจะไม่ถูกจับจากกระแสข้อมุล แต่สัญญาณนาฬิกาภานในที่เครื่องส่งและเครื่องรับต่างก็มีความถี่ใกล้เคียงกันมากที่สุด จึงจะทำให้ข้อมูลที่ผ่านการสุ่มตัวอย่างหรือที่เรียกว่าการแซมเปิ้ล (Sample) ล้วยอยู่ในอัตราเดียวกันกับที่ถูกส่งออกมา อัตราการสุ่มตัวอย่าง (Sampling Rate) นี้ จะทำให้บิตสอดคล้องกันในขณะที่การตรวจจับบิต (Detection) บิตเริ่มต้นและบิตหยุดจะทำให้อักขระสอดคล้องกัน
รูปแบบของการสื่อสารข้อมูลแบบอะซิงโครนัส

                                                  

                      ในขณะที่ไม่มีสัญญาณในการส่งข้อมูล สัญญาณหรือจะมีแรงดันหรือเป็นสถานการณ์ส่งสัญญาณเป็นว่าง (Idle line) เพื่อต้องการให้ทราบว่ายังมีการติดต่อกันอยู่ทั้ง 2 ฝ่าย แต่เมื่อเริ่มต้นในการส่งข้อมูล ก็จะเป็นการเริ่มสภาวะ "0" ไปหนึ่งช่วงเวลา (บิตเริ่มต้น) จากนั้นก็ตามด้วยบิตข้อมูล "1" อักขระซึ่งบิตนัยสำคัญต่ำสุด (LSB : Least Significant Bit) ก่อน ตามบิตหลังข้อมูลจะเป็นบิตตรวจสอบ (Parity Bit) ซึ่งอาจจะเป็นแบบคู่ หรือแบบคี่ก็ได้ ซึ่งหมายความว่า ถ้าเป็นแบบบิตคู่ (Even) คือ จำนวนบิตที่เป็น "1" ทั้งในบิตข้อมูลและบิตตรวจสอบรวมกันแล้วเป็นจำนวนคู่ซึ่งเครื่องส่งจะต้องคำนวณหาบิตตรวจสอบก่อนแล้วค่อยส่งออกไป ส่วนด้านทางรับก็จะคำนวณหาเช่นกัน ผลที่ได้จึงจะเป็นตามที่คาดไว้ คือ ถ้าเราใช้ระบบตรวจสอบบิตคู่ "1" ต้องเป็นจำนวนคู่เสมอ ในทำนองเดียวกัน แบบคี่ (Odd) คือจำนวน "1" รวมกันแล้วแล้วเป็นจำนวนคี่ ส่วนบิตหยุดนั้นความกว้างเท่ากับ 1, 1.5 หรือ 2 พัลล์ของสัญญาณนาฬิกา
                     2. การสื่อสารข้อมูลแบบซิงโครนัส (Synchronous Transmission) เป็นการส่งสัญญาณข้อมูลเป็นกลุ่ม (Block) การส่งแต่ละครั้งนั้นเป็นการส่งอักขระจำนวนมาก ๆ ซึ่งมีรูปแบบการส่งสัญญาณตามรูป
รูปแบบของการสื่อสารแบบซิงโครนัส


                           เมื่อส่งข้อมูลต้องใส่อักขระ SYN ก่อนหน้ากลุ่มข้อมูลกี่ตัวก็ได้ แต่ไม่ควรน้อยกว่า 2 ตัว ตามด้วย SYX บอกถึงการเริ่มต้น และเป็นกลุ่มข้อมูล ปิดท้ายกลุ่มข้อมูลด้วย ETB ซึ่งบอกถึงสิ้นสุดกลุ่มข้อมูล หรือ ETX คือสิ้นสุดการส่งข่าวสาร และสุดท้ายเป็นกลุ่มของบิตตรวจสอบ
                        ในการส่งแบบนี้ สถานีรับจะต้องมีหน่วยความจำสำรอง (Buffer)  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น